“น้ำหนักทอง” ถือเป็นสิ่งสำคัญที่มือใหม่หัดซื้อขายทองคำต้องรู้ เพราะมีความสำคัญต่อการ ราคาทอง ทั้ง ราคารับซื้อ และ ราคาขายออก รวมไปถึง “หน่วยน้ำหนักทอง” และ “เปอร์เซ็นต์ทอง” ที่แต่ละประเทศจะใช้หน่วยและนิยมเปอร์เซ็นต์ไม่เหมือนกัน

“หน่วยน้ำหนักทองคำ” ค่อนข้างหลากหลายและมีชื่อเรียกแตกต่างกันตามแต่ละประเทศ ซึ่งมีดังนี้

  • กรัม ( Gram : g ) เป็นหน่วยสากล ที่ใช้ในหลายๆประเทศ รวมถึงประเทศไทย โดยไม่ว่าจะซื้อขายเป็นหน่วยอะไรจะต้องมีการเทียบค่าเป็นหน่วยกรัมเสมอ
  • ทรอยออนซ์ ( Troy Ounce ) หรือ ออนซ์ ( Oz ) นิยมใช้ในกำหนดการซื้อ,ขายในตลาดทองคำโลก อย่าง ราคาทองคำโลก ( Gold Spot )จะซื้อขายเป็นสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ ( USD ) ต่อน้ำหนักทอง 1 ออนซ์ ( ทอง 1 ทรอยออนส์ หนัก 31.1034768 กรัม ) มีสัญลักษณ์ซื้อขายคือ USD/XUA ( เกณฑ์การตั้งราคาทองในไทยมาจากราคาทองโลก ) ซึ่งหน่วยออนซ์จะนิยมใช้ในกลุ่มประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษ เช่น อเมริกา,อังกฤษ,ออสเตรเลีย 
  • บาท ( Baht ) เป็นหน่วยที่นิยมใช้ในไทย โดย ทอง 1 บาท เท่ากับ 4 สลึง หรือ 100 สตางค์ ซึ่ง “สลึง” และ “สตางค์ “ เป็นหน่วยน้ำที่ใช้เรียกน้ำหนักทองที่ต่ำกว่า 1 บาท โดยชื่อเรียกต่างกันแต่น้ำหนักทองเหมือนกัน อย่าง ทอง 2 สลึง เท่ากับ ทอง 50 สตางค์
  • เฟื้อง หน่วยทองสมัยอดีตโบราณ แต่ก็ยังมีคนเรียกอยู่ในสมัยนี้ โดยทอง 1 เฟื้อง เท่ากับ ครึ่งสลึง 
  • หุน อีกหนึ่งหน่วยทองโบราณที่นิยมใช้ โดย ทอง 10 หุน เท่ากับ 1 สลึง 

    นอกจากนี้ยังมีหน่วยอื่นๆที่แต่ละประเทศนิยมใช้กัน

  • ตำลึง ( Tales ) นิยมในประเทศที่ใช้ภาษาจีนอย่าง จีน , ไต้หวัน , ฮ่องกง
  • โทลา ( Tolar ) ใช้ในประเทศ สิงคโปร์ , อินเดีย และประเทศแถบตะวันออกกลาง
  • ชิ ( Chi ) นิยมใช้ในประเทศเวียดนาม
  • ดอน ( Don ) นิยมใช้ในประเทศเกาหลี

 "เปอร์เซ็นต์ทองคำ" หรือ "ความบริสุทธิ์ทองคำ" ในประเทศไทยจะนิยม ทองคำบริสุทธิ์ 96.5 % และ ทอคำบริสุทธิ์ 99.99 % ซึ่งทองทั้งสองแบบจะแตกต่างกันเรื่องน้ำหนักและราคา รวมไปถึงความนิยม

โดย ทองคำบริสุทธิ์ 96.5 % นิยมที่สุดในไทย เพราะมีความแข็งแรงพอที่จะทำเป็นเครื่องประดับต่างๆ ได้ ซึ่งทองที่เห็นตามร้านทองส่วนใหญ่เป็นทองคำแบบนี้ มีน้ำหนักให้เลือกซื้อขายตั้งต่ 0.6 กรัม - 5 บาท , 10 บาท

ส่วน ทองคำบริสุทธิ์ 99.99 % จะนิยมทั่วโลกในหลายๆประเทศ โดยเป็นทองคำเกือบร้อยเปอร์เซ็นต์นี้มีความอ่อนตัวอยู่มาก จึงไม่นิยมนำมาทำเป็นเครื่องประดับเท่าไหร่ ส่วนใหญ่จะซื้อขายกันเป็น กิโลกรัม ( Kg )

ซึ่งในแต่ละประเทศจะนิยมเปอร์เซ็นต์ททองที่แตกต่างกัน ดังนี้

ทองคำบริสุทธิ์ 99.9 %  นิยมในประเทศอินเดีย

ทองคำบริสุทธิ์ 99.5 % นิยมในประเทศแถบตะวันออกกลาง

ทองคำบริสุทธิ์ 99.0 % นิยมในประเทศฮ่องกงเท่านั้น

   “น้ำหนักทอง” ในประเทศไทยเมื่อแปลงค่าน้ำหนักเป็น “กรัม” จะแตกต่างกัน ตามเปอร์เซ็นต์ทองและประเภททองคำ
ทองคำบริสุทธิ์ 96.5 %
ทองคำแท่ง 1 บาท หนัก 15.24 กรัม
ทองรูปพรรณ 1 บาท หนัก 15.24 กรัม
ทองคำบริสุทธิ์ 99.99 %
ทองคำ 1 กิโลกรัม หนัก 32.148 ออนซ์
ทองคำ 1 กิโลกรัม หนัก 65.6 บาท

สาเหตุที่ทองคำแท่งมีน้ำหนักเยอะกว่า เพราะขั้นตอนการผลิตไม่ยุ่งยาก,ไม่มีส่วนที่ต้องต่อกัน เป็นการเทลงบล็อค จึงได้เนื้อทองเต็มๆกว่า ไม่เหมือนทองรูปพรรณที่น้ำหนักหายไปส่วนหนึ่งจากการแปรรูปเป็นเครื่องประดับ และยังมีส่วนประกอบของ “น้ำประสานทอง” อีกด้วย

นอกจากนี้หากต้องการหาน้ำหนักทอง กี่กรัม เท่ากับ กี่สลึง สามารถนำเอา ตัวเลขน้ำหนักทอง 1 สลึง ( หน่วยเป็น “กรัม “ ) มาหาร เช่น แหวนทอง 0.6 กรัม หนักกี่สลึง ? ก็จะได้ 0.6 / 3.79 = 0.1583 สลึง