ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจเรื่อง “หน่วยน้ำหนักทอง” ก่อน โดยในประเทศไทยจะกำหนดหน่วยของตัวเองเพื่อให้เข้าใจง่าย สะดวกต่อการซื้อขาย ซึ่งจะกำหนดให้ ทอง 1 บาท เท่ากับ 4 สลึง หรือ 100 สตางค์ ( เทียบได้กับเหรียญ 1 บาท ) อย่างทอง 50 สตางค์ก็คือทอง 2 สลึงนั่นเอง เวลาไปซื้อทองส่วนใหญ่จะเรียกน้ำหนักเป็น สลึง และ บาท กันมากกว่า เพราะเข้าใจง่ายกว่า ส่วน “ กรัม “ เป็นหน่วยน้ำหนักย่อยที่สำคัญในการกำหนดน้ำหนักทองที่แท้จริง พูดง่ายๆคือ เป็นหน่วยน้ำหนักย่อยของหน่วยทั้งหมด คือ “ บาท “ > “ สลึง “ หรือ “สตางค์ “ > “ กรัม “
โดยทุกน้้ำหนักทองที่เป็นบาทหรือสลึงจะถูกกำหนดน้ำหนักเป็นกรัมดังนี้
แหวนทอง 1 บาท หนัก 15.16 กรัม ( ทองแท่งหนัก 15.244 กรัม )
แหวนทอง 2 สลึง หนัก 7.58 กรัม แหวนทอง 1 สลึง หนัก 3.79 กรัม
แหวนทอง ½ สลึง หนัก 1.895 กรัม
จะเห็นได้ว่า ทอง 1 กรัม หนักเทียบเท่าครึ่งของทอง ½ สลึงเลย ( ครึ่งของครึ่งสลึง ) ส่วนทอง 0.6 กรัม หากเทียบน้ำหนักทอง 1 กรัม คือครึ่งของครึ่งเลยก็ว่าได้ ซึ่งถือได้ว่ามีน้ำหนักที่เบาและบางมาก ๆ ส่วนใหญ่จะทำเครื่องประดับทองที่ใช้เนื้อทองน้อยได้เพียงแค่ชิ้นเล็ก ๆ เช่น แหวนทอง , จี้ทอง เท่านั้น และด้วยความที่น้ำหนักเบาและบางก็มีโอกาสสูงที่จะเกิดการชำรุด บุบ หักได้ง่ายเช่นกัน
ส่วนหากต้องการสะสมแหวนทอง 0.6 กรัมให้ได้น้ำหนักทอง 1 บาท อาจต้องเก็บสะสมถึง 26 ชิ้น ( 0.6 กรัม x 26 ชิ้น = 15.6 กรัม ) เลยทีเดียว ส่วนราคาทอง 0.6 กรัม นั้นร้านทองจะคิดราคาขายออกเหมือนราคาทองน้ำหนักอื่น ๆ เช่น
สมมุติ ราคาขายออกทองรูปพรรณ บาทละ 19,800 บาท
ราคาแหวนทอง 0.6 กรัม ( 19,800 / 15.16 ) x 0.6 = 784 บาท ( ราคายังไม่รวมค่ากำเหน็จ )
สรุปได้ว่า ทอง 0.6 กรัม เป็นทองคำที่มีน้ำหนักน้อยที่สุด มีความบางและเบามาก ผลิตทองรูปพรรณได้เพียงแค่ชิ้นเล็ก ๆ อย่าง แหวนทอง , จี้ทอง , ตุ้มหู เท่านั้น และมีโอกาสสูงที่จะชำุด บุบ หักได้ง่ายกว่าทองทั่วไป แต่ก็สามารถขายได้ , จำนำได้